วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562

ด.ช.สรวิชญ์ บุญลา sorawit2005.blogspot.com




ด.ช.สรวิชญ์ บุญลาsorawit2005.blogspot.com
ด.ช.สุพจน์ สว่างศรีsupoj12848-blog.blogspot.com
ปรียานุช มณีโชติpriyanutmanichot.blogspot.com
ปฐมาวดี ตันบริภัณฑ์blogicezy.blogspot.com
ด.ช. ณัฐภูมิ แย้มแก้วnatapoom-blog.blogspot.com
ด.ญ.กิตยากร พิจิตรtonnam6157-blog.blogspot.com
รักชนก ยื่นกระโทกhttps://iamluckchyy.blogspot.com
ณฐมน บัวทองnannamene.blogspot.com
กิตติภพ ทองอินทร์kittipop-blog.blogspot.com
ฐิติกร บรรจบปีthitikorn-blog.blogspot.com
ชมพูนุท ซุยยะกิจhttps://chompunut-blog.blogspot.com
วรวรรณ บ้านโก๋worawan-blog.blogspot.com
ด.ช.อรรณพ อึ้งแย้มanop-blog.blogspot.com
หนึ่งฤทัย ปิ่นทองneungrethay-blog.blogspot.com
กันต์กมล วงค์วีkankamon-blog.blogspot.com
วชิราภรณ์ แสงหอมwachiraporn-blog.blogspot.com
ด.ช.ณัฐฐิวรรธน์ สุทธิวงศ์ham34566.blogspot.com
ด.ญ.รักษิณา มาฆะนุกิจkhawraksina.blogspot.com
แพรวนภา เหมาะสมัยpaewnapa22-blog.blogspot.com
ด.ญ.นรภัทร เสมอใจsamerjai17-blog.blogspot.com
สุกัญญา โสภาsukanya-blog27.blogspot.com
ด.ญ. มนัสนันท์ เหมือนชูmanasanan-blog.blogspot.com
ด.ช.ภูมิศักดิ์ เครื่องพาทีhttps://phumsak-blog.blogspot.com
วิยะดา ศรีลานันท์wiyada-blog.blogspot.com
ปนัดดา ทองชมภูนุชpanatda-blog13.blogspot.com
รัฐธิญา คำช่วงaom48.blogspot.com
ภัทรพล ชมภูputtarapon002.blogspot.com
ด.ญ.มลธิชา มั่งมีผลmonticha236-blog.blogspot.com
เด็กหญิงณวิภา เสาธงpreem.blogspot.com
ด.ช.พชรพงศ์ บัวควานicezyfpv.blogspot.com
ด.ญ.ศศิประภา ใจซื่อsasipapha30-blog.blogspot.com
ด.ญ.จิดาภา พวงสุวรรรณ์mi0890227876.blogspot.com
เยาเรศ คำฐีyawaret.blogspot.com
ธัญชนก บัวพรมthanchanok170306.blogspot.com
ชัญญา หนูทองchanyahuntong.blogspot.com
ปนัดดา ลักษณะโตpanadda-blog.blogspot.com
กันตนา อุ่นใจkantana-blogger.blogspot.com
นันทพงศ์ จอมดวง nantapong-blog.blogspot.com
ปภังกร หงษ์ทองleesaw123ze.blogspot.com
ทองทิพย์teepee-tip.blogspot.com
ปัญญาพรรณ ลุนไธสงpanyaparn.blogspot.com
ศศิกานต์ ม่วงโพธิ์เงินsasikan2505.blogspot.com
เด็กหญิงณภัทร ศรีผ่องใสnaphat-blog.blogspot.com
ชุติมา อึงฤทธิเดชchutiimauengritthidet.blogspot.com
ด.ช.ฮัสซัน อัลบูดาจิhassun-blog.blogspot.com
มทินา กระแสเทพdahla003.blogspot.com

วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562


ประวัติสุโขทัย
อาณาจักรสุโขทัย(สุกโขไท:ตามจารึก) เป็นรัฐในอดีตรัฐหนึ่ง ตั้งอยู่บนที่ราบลุ่มแม่น้ำยม สถาปนาขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 18 ในฐานะสถานีการค้าของรัฐละโว้ หลังจากนั้นราวปี 1800 พ่อขุนบางกลางหาวและพ่อขุนผาเมือง ได้ร่วมกันกระทำการยึดอำนาจจากขอมสบาดโขลญลำพงซึ่งทำการเป็นผลสำเร็จและได้สถาปนาเอกราชให้รัฐสุโขทัยเป็นอาณาจักรสุโขทัย และมีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับและเพิ่มถึงขีดสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ก่อนจะค่อย ๆ ตกต่ำ และประสบปัญหาทั้งจากปัญหาภายนอกและภายใน จนต่อมาถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาไปในที่สุด

ที่ตั้งและอาณาเขต

อาณาจักรสุโขทัย ตั้งอยู่บนเส้นทางการค้าผ่านคาบสมุทรระหว่างอ่าวเมาะตะมะ และที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนกลาง มีอาณาเขตดังนี้
  1. ทิศเหนือ มีเมืองแพล (ปัจจุบันคือแพร่) เป็นเมืองปลายแดนด้านเหนือสุด
  2. ทิศใต้ มีเมืองพระบาง (ปัจจุบันคือนครสวรรค์) เป็นเมืองปลายแดนด้านใต้
  3. ทิศตะวันตก มีเมืองฉอด (ปัจจุบันคือแม่สอด) เป็นเมืองชายแดนที่จะติดต่อเข้าไปยังอาณาจักรมอญ
  4. ทิศตะวันออก มีเมืองสะค้าใกล้แม่น้ำโขงในเขตภาคอีสานตอนเหนือ

การแทรกแซงจากอยุธยา

หลังจากพ่อขุนรามคำแหงแล้ว เมืองต่างๆเริ่มอ่อนแอลงเมือง ส่งผลให้ในรัชกาลพญาเลอไท และรัชกาลพญาไสลือไท ต้องส่งกองทัพไปปราบหลายครั้งแต่มักไม่เป็นผลสำเร็จ และการปรากฏตัวขึ้นของอาณาจักรอยุธยาทางตอนใต้ซึ่งกระทบกระเทือนเสถียรภาพของสุโขทัยจนในท้ายที่สุดก็ถูกแทรกแทรงจากอยุธยา จนมีฐานะเป็นหัวเมืองของอยุธยาไปในที่สุด โดยมี พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครองสุโขทัยในฐานะรัฐอิสระพระองค์สุดท้าย โดยขณะนั้น ด้วยการแทรกแซงของอยุธยา รัฐสุโขทัยจึงถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน คือ
  • เมืองสรวงสองแคว (พิษณุโลก) อันเป็นเมืองเอก มีพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) เป็นผู้ปกครอง
  • เมืองสุโขทัย เมืองรอง มี พระยาราม เป็นผู้ปกครองเมือง
  • เมืองเชลียง (ศรีสัชนาลัย) มี พระยาเชลียง เป็นผู้ปกครองเมือง
  • เมืองชากังราว (กำแพงเพชร) มี พระยาแสนสอยดาว เป็นผู้ปกครองเมือง
หลังสิ้นรัชกาลพระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาล) พระยายุทธิษฐิระซึ่งเดิมทีอยู่ศรีสัชนาลัย ได้เข้ามาครองเมืองสองแคว (พิษณุโลก) และเมื่อแรกที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เสด็จขึ้นผ่านพิภพ เป็นพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่าขณะนั้น พระยายุทธิษฐิระ เกิดความน้อยเนื้อต่ำใจ ที่ได้เพียงตำแหน่งพระยาสองแคว เนื่องด้วย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงเคยดำริไว้สมัยทรงพระเยาว์ว่า หากได้ขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ จะชุบเลี้ยงพระยายุทธิษฐิระให้ได้เป็นพระร่วงเจ้าสุโขทัย พ.ศ. 2011 พระยายุทธิษฐิระจึงเอาใจออกห่างจากสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไปขึ้นกับ พระยาติโลกราช กษัตริย์ล้านนาในขณะนั้น เหตุการณ์นี้ส่งผลให้เกิดการเฉลิมพระนามกษัตริย์ล้านนา จากพระยา เป็น พระเจ้า เพื่อให้เสมอศักดิ์ด้วยกรุงศรีอยุธยา พระนามพระยาติโลกราช จึงได้รับการเฉลิมเป็นพระเจ้าติโลกราช
หลังจากที่พระยายุทธิษฐิระ นำสุโขทัยออกจากอยุธยาไปขึ้นกับล้านนา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงเสด็จจากกรุงศรีอยุธยา กลับมาพำนัก ณ เมืองสรลวงสองแคว พร้อมทั้งสร้างกำแพงและค่ายคู ประตู หอรบ แล้วจึงสถาปนาขึ้นเป็นเมือง พระพิษณุโลกสองแคว เป็นราชธานีฝ่ายเหนือของอาณาจักรแทนสุโขทัย ในเวลาเจ็ดปีให้หลัง สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถจึงทรงตีเอาสุโขทัยคืนได้ แต่เหตุการณ์ทางเมืองเหนือยังไม่เข้าสู่ภาวะที่น่าไว้วางใจ จึงทรงตัดสินพระทัยพำนักยังนครพระพิษณุโลกสองแควต่อจนสิ้นรัชกาล ส่วนทางอยุธยานั้น ทรงได้สถาปนาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 พระราชโอรส เป็นพระมหาอุปราช ดูแลอยุธยาและหัวเมืองฝ่ายใต้
ด้วยความที่เป็นคนละประเทศมาก่อน และมีสงครามอยู่ด้วยกัน ชาวบ้านระหว่างสุโขทัยและอยุธยา จึงมิได้ปรองดองเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน จึงต้องแยกปกครอง โดยพระมหากษัตริย์อยุธยา จะทรงสถาปนาพระราชโอรส หรือพระอนุชา หรือพระญาติ อันมีเชื้อสายสุโขทัย ปกครองพิษณุโลกในฐานะราชธานีฝ่ายเหนือ และควบคุมหัวเมืองเหนือทั้งหมด
สิ้นสุดสุโขทัย .ศ. 2127 หลังจากชนะศึกที่แม่น้ำสะโตงแล้ว พระนเรศวรโปรดให้เทครัวเมืองเหนือทั้งปวง (เมืองพระพิษณุโลกสองแคว เมืองสุโขทัย เมืองพิชัยเมืองสวรรคโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิจิตร และเมืองพระบาง)[3] ลงมาไว้ที่อยุธยา เพื่อเตรียมรับศึกใหญ่ พิษณุโลกและหัวเมืองเหนือทั้งหมดจึงกลายเป็นเมืองร้าง หลังจากเทครัวไปเมืองใต้ จึงสิ้นสุดการแบ่งแยกระหว่างชาวเมืองเหนือ กับชาวเมืองใต้ และถือเป็นการสิ้นสุดของรัฐสุโขทัยโดยสมบูรณ์ เพราะหลังจากนี้ 8 ปี พิษณุโลกได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง แต่ถือเป็นเมืองเอกในราชอาณาจักร มิใช่ราชธานีฝ่ายเหนือ
ในด้านวิชาการ มีนักวิชาการหลายท่านได้เสนอเพิ่มว่า เหตุการณ์อีกประการ อันทำให้ต้องเทครัวเมืองเหนือทั้งปวงโดยเฉพาะพิษณุโลกนั้น อยู่ที่เหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ บนรอยเลื่อนวังเจ้า ในราวพุทธศักราช 2127 แผ่นดินไหวครั้งนี้ส่งผลให้ตัวเมืองพิษณุโลกราพณาสูญ แม้แต่แม่น้ำแควน้อยก็เปลี่ยนเส้นทางไม่ผ่านเมืองพิษณุโลก แต่ไปบรรจบกับแม่น้ำโพ (ปัจจุบันคือแม่น้ำน่าน) ที่เหนือเมืองพิษณุโลกขึ้นไป และยังส่งผลให้พระศรีรัตนมหาธาตุพิษณุโลก หักพังทลายในลักษณะที่บูรณะคืนได้ยาก ในการฟื้นฟูจึงกลายเป็นการสร้างพระปรางค์แบบอยุธยาครอบทับลงไปแทน ทั้งหมด



วิธีการสร้างBLOGGER

วันอาทิตย์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2562


การทำตุ็กตาการพบรู



https://www.youtube.com/watch?v=ApyCSWZEQl8


ขลุ่ย
ขลุ่ย เป็นเครื่องดนตรีโบราณของไทยชนิดหนึ่ง สันนิษฐานว่า อาจจะเกิดขึ้นก่อนหรือในสมัยกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ร่วมสมัยกับเครื่องดนตรีประเภท กลอง ฆ้อง กรับ พิณเพียะ แคน ขลุ่ย ปี่ ซอ และกระจับปี่ แต่มีหลักฐานชัดเจนปรากฏ ในกฎมนเฑียรบาลสมัยพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991-2031) แห่งกรุงศรีอยุธยาว่าห้ามร้องเพลงหรือเป่าขลุ่ย เป่าปี่ สีซอ ดีดกระจับปี่ ดีดจะเข้ ตีตะโพนในเขตพระราชฐานก่อนที่จะมาเป็นขลุ่ยอย่างที่ปรากฏรูปร่างในปัจจุบัน ขลุ่ยได้ผ่านการวิวัฒนาการมาเป็นระยะเวลายาวนาน มาจากปี่อ้อซึ่งตัวปี่หรือเลาทำจากไม้รวกท่อนเดียวไม่มีข้อ และมีลิ้นซึ่งทำด้วยไม้อ้อลำเล็กสำหรับเป่าให้เกิดเสียง หลังจากนั้นจึงปรับเปลี่ยนรูปร่าง และวิธีเป่าจนกลายมาเป็นขลุ่ยอย่างที่เรียกกันในปัจจุบันนี้ว่าเป็นขลุ่ยเพียงออ

ประเภทของขลุ่ย

คนไทยเป็นคนที่มีพรสวรรค์ทางศิลปะ จะเห็นได้ว่างานหัตถก
รรมของไทยงดงามไม่แพ้ของชนชาติใดในโลก ประกอบกับความคิดสร้างสรรค์ที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยมจึงทำให้เรามีมรดกทางด้านศิลปวัฒนธรรมอยู่เป็นจำนวนมาก ขลุ่ยก็เช่นเดียวกัน นอกจากขลุ่ยเพียงออ ซึ่งสืบทอดคุณลักษณะและรูปร่างมาแต่โบราณแล้ว ต่อมาบรรพบุรุษของเรายังได้คิดค้น "ขลุ่ยหลีบ" ไว้สำหรับเล่นคู่กับขลุ่ยเพียงออ "ขลุ่ยอู้" ซึ่งคิดค้นขึ้นในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อใช้ประกอบการละเล่นละครดึกดำบรรพ์ นอกจากนั้น ก็ยังมีขลุ่ยที่เรียกชื่ออย่างอื่นอีก เช่น ขลุ่ยกรวด ขลุ่ยเคียงออ ขลุ่ยรองออ ขลุ่ยออร์แกน เพื่อให้เหมาะกับการที่จะไปเล่นผสมกับวงดนตรีประเภทต่างๆ
ปัจจุบันขลุ่ยที่ยังมีผู้นิยมเล่นมากที่สุด มี 3 ประเภท คือ
  1. ขลุ่ยเพียงออ
  2. ขลุ่ยหลีบ
  3. ขลุ่ยอู้

วรรณะสี 
1.วรรณะสีร้อน (WARM TONE) ประกอบด้วยสีเหลือง สีส้มเหลือง สีส้ม สีส้มแดง สีม่วงแดงและสีม่วง สีใน  วรรณะร้อนนี้จะไม่ใช่สีสดๆ ดังที่เห็นในวงจรสีเสมอไป เพราะสีในธรรมชาติย่อมมีสีแตกต่างไปกว่าสีในวงจรสีธรรมชาติอีกมาก ถ้าหากว่าสีใด  ค่อนข้างไปทางสีแดงหรือสีส้ม เช่น สีน้ำตาลหรือสีเทาอมทอง ก็ถือว่าเป็นสีวรรณะร้อน

2.วรรณะสีเย็น (COOL TONE) ประกอบด้วย สีเหลือง สีเขียวเหลือง สีเขียว สีเขียวน้ำเงิน สีน้ำเงิน สีม่วงน้ำเงิน และสีม่วง ส่วนสีอื่นๆ ถ้าหนักไปทางสีน้ำเงินและสีเขียวก็เป็นสีวรรณะเย็นดังเช่น สีเทา สีดำ สีเขียวแก่ เป็นต้น จะสังเกตได้ว่าสีเหลืองและสีม่วงอยู่ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น ถ้าอยู่ในกลุ่มสีวรรณะร้อนก็ให้ความรูสึกร้อนและถ้า อยู่ในกลุ่มสีวรรณะเย็นก็ให้ความรู้สึกเย็นไปด้วย สีเหลืองและสีม่วงจึงเป็นสีได้ทั้งวรรณะร้อนและวรรณะเย็น